วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

1.โครงงานคืออะไร
ตอบ โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆสำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบ             โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการ            เรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานในกลุ่มสาระนั้นๆสำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่              ใช้ 
2.โครงงานมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ  ความสำคัญของโครงงาน
เสริมสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง   ส่งผลทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำโครงงานใหม่ๆที่จะนำไปสู่โลกของงานอาชีพและการศึกษา อีกทั้งโครงงานที่ตนเองสนใจยังก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวาง เป็นการประสานงานทางวิชาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
 ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนสำนักงานการศึกษาแห่งชาติ  ได้พัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กำหนดตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน 9  ข้อและตัวบ่งชี้การสอนของครู 10 ข้อดังนี้

ตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน
1.  ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.   ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
3.   ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
4.   ผู้เรียนฝึกคิดหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ได้แสดงออกอย่างชัดเจนและมีเหตุผล
5.   ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นคว้าหาคำตอบ  แก้ปัญหาทั้งด้วยตนเองและร่วมกับเพื่อนๆ
6.   ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า  รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
7.   ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ  ความถนัด  ความสนใจอย่างมีความสุข
8.   ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัยและมีความรับผิดชอบในการทำงาน
9.   ผู้เรียนฝึกประเมิน  ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น  และสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การสอนของครู
1. ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
2. ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า  จูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3. ครูเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลและแสดงความเมตตาต่อนักเรียนอย่างทั่วถึง
4. ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
5. ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด  ฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
6. ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มสังเกตข้อดีและปรับปรุงข้อด้อยของผู้เรียน
7. ครูใช้สื่อเพื่อฝึกการคิด  การแก้ปัญหา  และการค้นพบความรู้
8. ครูให้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริง
9. ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย
10. ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

3.นักเรียนมีหลักการเลือกหัวข้อโครงงานอย่างไร
ตอบ  การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานเป็นการดำเนินงานที่ต้องตัดสินใจทำโครงงานให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  คือ
1.สำรวจความถนัด
2.ความพร้อมและความสนใจ
3.สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวก
4.สังเกตสภาพแวดล้อม
4.ใครเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในการทำงาน
ตอบ  นักเรียน
5.นักเรียนมีวิธีการเลือกใช้ทรัพยากรในการทำโครงงานอย่างไร
ตอบ  หาของที่เหลือใช้นำมารีไซเคิลใช้ทำในโครงงาน
6.ถ้าโครงงานที่ต้องการทำมีผู้ทำไว้แล้วนักเรียนควรแก้ปัญหาอย่างไร
ตอบ  คิดค้นหาโครงงานเรื่องอื่นทำ
7.นักเรียนคิดว่าโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ จำเป็นต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ในกระบวนการทำงานหรือไม่อย่างไร
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะกระบวนการบ้างขั้นตอนหาในท้องถิ่นก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ลักษณะโครงงานที่ดี

ลักษณะโครงการที่ดี
โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
        - โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
        - ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
        - ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
        - ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
        - ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
        - จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
        - ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
        - ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
        - ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
        - บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
        - เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้อง
   กับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น

4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
        - สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
        - ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
        - แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น

5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตาม
    โครงการได้

6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้